วิทยาศาสตร์ ของ ไข่เจียว กับ น้ำกระเจี๊ยบ เอ๊ะ ยังไง
Last Updated on Saturday, 17 November 2012 23:39 Written by Administrator Saturday, 17 November 2012 22:25
ตอนเด็กๆด้วยความซน กำลังจะเจียวไข่ก็เผอิญเห็นน้ำกระเจี๊ยบที่แม่ต้มไว้สีแดงสดใสมาก ก็เลยทะลึ่งอยากได้ไข่เจียวสีออกแดงๆ ตักน้ำกระเจี๊ยบใส่ลงไปในไข่ หวังว่าจะได้เป็นไข่เจียวสีออกแดงๆ เหตุการณ์กลับตาลปัตร
ไข่เจียวที่ได้กลับเป็นสีเขียวสดใสเฉยเลย ถึงกับงงเลย....เด็กน้อยก็เลยเก็บความส
งสัยจนได้มาเรียนวิชาเคมี ถึงได้ร้องอ๋อ!!!!
ที่แท้เป็นเพราะสารมีสีที่อยู่ในน้ำกระเจี๊ยบ คือ แอนโธไซยานิน ที่มีสมบัติในการเปลี่ยนสีตามช่วง pH (หรือลิตมัสนั่นเอง) โดยที่เวลาเค้าอยู่ในกรดจะมีสีแดงสดใสมาก แต่ถ้าอยู่ในสภาวะที่เป็นด่างอ่อนๆจะมีสีฟ้้านั่นเอง พอมาใส่ในไข่เจียวที่มีสมบัติเป็นด่างอ่อนๆจากความเป็นโปรตีน รวมกับสีเหลืองของไข่แแดง ก็เลยได้เป็นไข่เจียวที่มีสีเขียวสดใส น่าเอามาซอยเป็นเส้นๆโรยหน้าเบนโตะตกแต่งเป็นสนามหญ้าอย่างปลอดภัยยิ่งนัก....^ ^
ปล. สารมีสีตัวนี้ก็ตัวเดียวกับสารมีสีน้ำเงินในดอกอัญชัญเลย ถ้าใครคิดจะกินชาดอกอัญชัญเพื่อดีต่อสุขภาพ ก็สามารถดื่มน้ำกระเจี๊ยบแทนได้นะครับ เพราะหาง่ายและให้ปริมาณสารมากกว่าเยอะเลย ^ ^
ที่แท้เป็นเพราะสารมีสีที่อยู่ในน้ำกระเจี๊ยบ คือ แอนโธไซยานิน ที่มีสมบัติในการเปลี่ยนสีตามช่วง pH (หรือลิตมัสนั่นเอง) โดยที่เวลาเค้าอยู่ในกรดจะมีสีแดงสดใสมาก แต่ถ้าอยู่ในสภาวะที่เป็นด่างอ่อนๆจะมีสีฟ้้านั่นเอง พอมาใส่ในไข่เจียวที่มีสมบัติเป็นด่างอ่อนๆจากความเป็นโปรตีน รวมกับสีเหลืองของไข่แแดง ก็เลยได้เป็นไข่เจียวที่มีสีเขียวสดใส น่าเอามาซอยเป็นเส้นๆโรยหน้าเบนโตะตกแต่งเป็นสนามหญ้าอย่างปลอดภัยยิ่งนัก....^ ^
ปล. สารมีสีตัวนี้ก็ตัวเดียวกับสารมีสีน้ำเงินในดอกอัญชัญเลย ถ้าใครคิดจะกินชาดอกอัญชัญเพื่อดีต่อสุขภาพ ก็สามารถดื่มน้ำกระเจี๊ยบแทนได้นะครับ เพราะหาง่ายและให้ปริมาณสารมากกว่าเยอะเลย ^ ^